วิธีใช้งานนาฬิกาโบราณ   คู่มือการซ่อมนาฬิกา    ข้อมูลเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณ  

ประวัติพัดลมฮ่องกง

ประวัติพัดลมฮ่องกง
อ้างอิง อ่าน 858 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

Puthakhun

ประวัติและข้อมูลผู้ผลิตและส่งออกพัดลมเพดานรายใหญ่ในฮ่องกง

(SMC,TAT,DEMC)

แปลและเรียบเรียงเมื่อ 29 .. 65

 

ผู้ประกอบการจากฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมพัดลมทั่วโลกมาอย่างยาวนาน Joseph Lau เศรษฐีด้านอสังหาริมทรัพย์และการลงทุน ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกหลังจากส่งขายพัดลมเพดานไปยังสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง กับ Union Kgok Kee (รู้จักกันดีในแบรนด์ UEC) และ Evergo ในช่วงปลายทศวรรษ '70-ต้นทศวรรษ '80 ซึ่งทำให้เขาได้รับสมญานามว่า 'Electric Fan Lau' ในช่วงปีนั้น จากนั้นมี 'Bernard Chiu' ซึ่งDuracraft เป็นหนึ่งในแบรนด์พัดลมไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆชั้นนในสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นทศวรรษ '90 ก่อนที่ Honeywell จะซื้อกิจการไป

 

แต่การเข้าสู่ตลาดพัดลมไฟฟ้าทั่วโลกของฮ่องกงเริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษ '50 โดยผู้ผลิตรายใหญ่ 3 แบรนด์ คือSMC,DEMC และ TAT ซึ่งพัดลมของ3แบรนด์นี้ ทำให้ฮ่องกงอยู่ในแผนที่ของการส่งออก เนื่องจากการส่งออกพัดลมของฮ่องกงเติบโตขึ้นจาก 2.4 ล้านเหรียญฮ่องกงในปี 2502 เป็น 657 ล้านเหรียญฮ่องกงในปี 2523 

 

เจ้าของทั้ง 3 บริษัทเคยดำรงตำแหน่งประธานหรือกรรมการของ HK & Kowloon Electric Trade Association และเป็นผู้เล่นหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในฮ่องกง

 

ต่อจากนี่เป็นประวัติและข้อมูลของทั้ง 3 บริษัท

 

SMC

 

Shell Electric MFG. (SMC) ก่อตั้งขึ้นในปี 2495 โดย Yung Yau (2467-2547) Yung Yau เป็นชาว Shun Tak ในมณฑลกวางตุ้ง แต่เดินทางมายังฮ่องกงเมื่ออายุ 15 ปี 

 

ธุรกิจแรกของเขาเกี่ยวข้องกับการขายสินค้า เช่นข้าว และได้เริ่มนำเข้าพัดลมมาขายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งพัดลมเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นในยุคนั้นมีเพียงคนที่มีฐานะเท่านั้นที่จะซื้อได้

 

แต่แม้การศึกษาของเขาจะไม่ได้สูง เขาก็เป็นนักประดิษฐ์ และองเห็นโอกาสทางธุรกิจ เขาจึงก่อตั้บริษัทผลิตพัดลมภายใต้แบรนด์ SMC เนื่องจากพัดลมของเขามีราคาที่ถูกกว่าครึ่งของพัดลมนำเข้า จึงทำให้ขายดีในประเทศ และในปี 2498 Shell Electric เป็นผู้ส่งออกพัดลมเพดานรายแรกจากฮ่องกง

 

โรงงานเดิมของบริษัทตั้งอยู่ที่ Lin Fa Kung Temple Street West ใน Causeway Bay และการผลิตในช่วงแรกใช้แรงงานคน แต่หลังจากนั้นอีกไม่นาน ในช่วงปลายทศวรรษ '50 Yung Yau และวิศวกรของเขาได้คิดค้นเครื่องจักรที่เพิ่มจำนวนการผลิตพัดลมต่อวัน จากอย่างมาก 20 ตัวเป็นหลายร้อยตัวต่อวัน ต่อมาในปี 2509 บริษัทได้สร้างอาคารอุตสาหกรรมที่ถนน Chung Street ในไชยวาน

 

แต่ในช่วงปี 2513 ได้เกิดวิกฤตพลังงาน ทำให้ได้สร้างความต้องการอย่างมากในการผลิตพัดลมที่ประหยัดต้นทุนและพลังงานทั่วโลก จึงทำให้ Shell Electric เป็นผู้ผลิตพัดลมรายใหญ่ของโลก ต่อมาในปี 2521 Shell Electric เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายแรกของของฮ่องกงที่ได้ตั้งสำนักงานขายในสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้ง SMC Marketing ใน LA เพื่อหลีกเลี่ยงพ่อค้าคนกลางและขายตรงให้กับผู้ค้าปลีก หลังจากนั้นในช่วงทศวรรษ '80 Shell Electric ได้เข้ามาแทนที่British GEC โดยเป็นผู้จัดหาพัดลมหลักให้รัฐบาลฮ่องกง

 

ในปี 2525 Shell ได้ผลิตไมโครเวฟเครื่องแรกที่ผลิตในฮ่องกง (ระหว่างปี 2538-2541 Shell Electric ได้ร่วมทุนกับWhirlpool เพื่อผลิตไมโครเวฟใน Shunde) สองปีต่อมา ในปี 2527 บริษัทได้เป็นบริษัทจดทำเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ในปี 2529 โรงงานผลิตร่วมทุนแห่งแรกของ Shell Electric ได้ก่อตั้งขึ้นในหมู่บ้าน Shun Tak บ้านเกิดของ Yung การกระจายธุรกิจเพิ่มเติมเริ่มขึ้นในทศวรรษ '90 เมื่อบริษัทเข้าสู่สาขาต่างๆเช่นอสังหาริมทรัพย์และแท็กซี่ในกว

วางโจว  

 

เมื่อปี 2547 หลังจากYung Yau ได้ถึงแก่กรรม Shell ได้ผลิตพัดลมกว่า 6 ล้านตัวต่อปี และมีพนักงานกว่า 8,200 คน

 

DEMC

 

Din Wai Electrical Manufacturing Company (DEMC)  ก่อตั้งขึ้นในปี 2492 เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าชั้นนำ และผลิตพัดลมภายใต้ชื่อแบรนด์ DEMC โดยได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทก่อตั้งโดย Lee Yee และน้องชายของเขา Lee King ซึ่งมีนามแฝงว่า Chung Wai และบริษัทได้ชื่อมามาจากอักขระตัวสุดท้ายของชื่อ Wai ของพี่ชาย ผสมผสาน กับ Din ซึ่งเป็นอักษรจีนที่มีความหมายว่าไฟฟ้า พ่อของพี่น้อง Lee ที่เติบโตใน Canton ได้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้เขาต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อมาจุนเจือครอบครัวด้วยการไปทำธุรกิจ

 

เขาได้ประสบความสำเร็จใน Canton ในช่วงแรกจากการทำ Adapter กับพี่น้องของเขาแต่ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในฮ่องกงเมื่อปี 2492 เนื่องจากเงินทุนที่จำกัด Din Wai เริ่มต้นจากการเป็น Workshop ง่ายๆใน Sham Shui Po แต่เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทได้เติบโตขึ้นด้วยการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง 

 

ในช่วงปี 1950 พัดลม DEMC ของ Din Wai กำลังขายดิบขายดี ทำให้ Din Wai ได้ย้ายไปยังอาคารอุตสาหกรรม Din Wai 6 ชั้นของตัวเองที่ Hoi Yuen Road ใน Kwun Tong (ตั้งแต่พัฒนาใหม่เป็น APEC Plaza)  ในช่วงต้นทศวรรษ1960

 

ในช่วงปี 1960 Din Wai สามารถผลิตพัดลมได้ 200 ตัวต่อวัน และ 60% ของพัดลมที่ผลิตโดย Din Wai ในฮ่องกงส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา  ต่อมาในปี .. 2509 Din Wai ลงทุน 18 ล้านเหรียญฮ่องกงเพื่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่งในปีนัง ประเทศมาเลเซีย โดยโรงงานหนึ่งผลิตพัดลมไฟฟ้า ไฟฉาย และไดร์เป่าผมและอีกโรงงานหนึ่งผลิตเครื่องปรับอากาศกับตู้เย็น  Dato Chan Swee-ho J.P. นักอุตสาหกรรมและนักการเมืองคนสำคัญของ Ipoh เป็นผู้ร่วมทุนของ Din Wai ในมาเลเซีย และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของ Din-Wai Electrical Manufacturing Co (Malaysia) Ltd ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 1967 และเป็นผู้จัดหา พัดลมของ DEMC สู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นักลงทุนอีกสองคนในกิจการร่วมทุนของมาเลเซีย ได้แก่ Keegom Chan  ซึ่งครอบครัวเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมไฟฉายในฮ่องกงในฐานะเจ้าของ Ling Nam Hardware และ Cho Shiu-chung MBE, J.P.  ซึ่งเป็นประธานสมาคม Mongkok Kaifong  และกรรมการผู้จัดการของบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง เช่น Wai Wah Enterprises (ปัจจุบันคือ Rivera Holdings)

 

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ตลาดพัดลมในสหรัฐฯ เริ่มดีขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคที่นั่นพยายามหาทางแก้ปัญหาด้านพลังงานต้นทุนต่ำในช่วงที่เกิดวิกฤตทางพลังงาน และนักธุรกิจชาวฟลอริดาชื่อ William Wallo ซึ่งพบพัดลม DEMC ในบ้านของเพื่อนบ้านก็กลายเป็น  ผู้จัดจำหน่ายพัดลม DEMC แต่เพียงผู้เดียวในสหรัฐอเมริกาผ่านบริษัทของเขาGulf Coast Fans Ltd. ข้อตกลงดังกล่าว Gulf Coast ซื้อจาก Mid West Electronic of Chicago ซึ่งเป็นผู้นำเข้าพัดลม DEMC แต่เพียงผู้เดียวในสหรัฐอเมริกา ซึ่งซื้อจาก Pax & Co in  HK ตัวแทนแต่เพียงผู้เดียวที่จัดการการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการแต่งตั้งโดย DEMC

 

 ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงในอีก 3 ปีต่อมา และในปี 1978 Wallo ได้ขาย Gulf Coast ให้กับ Wilmer Barrett  Barrett เริ่มเปลี่ยนชื่อแบรนด์ DEMC ภายใต้ชื่อ Gulf Coast และเปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น Seabreeze และ Showboat  ในปีถัดมาตลาดพัดลมติดเพดานของสหรัฐก็ระเบิดขึ้น และเมื่อ Gulf Coast ได้รับพัดลมจาก Din Wai ไม่เพียงพอ จึงเริ่มจัดหาพัดลมจากบริษัทอื่นและดัดแปลงพัดลมซึ่งส่งผลให้เกิดการขัดแย้งกัน เป็นผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสี่ฝ่ายลดลงและจบลงด้วยการฟ้องร้องในช่วงต้นทศวรรษ 1980  ปัจจุบันแบรนด์พัดลม Gulf Coast ยังคงมีอยู่และเป็นเจ้าของโดย Dan's Fan City ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกพัดลมเพดานอิสระรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

 

 Lee Yee ได้แต่งงานกับ Cheung Kwan-wai และ Lee King แต่งงานกับ Cheung King-wai ซึ่งเป็นผู้บริหารของDin Wai HK และ Malaya  นอกจาก Din Wai แล้ว Lee King ยังเป็นชาวพุทธที่เคร่งศาสนา และเพราะเขาออกจากโรงเรียนก่อนกำหนด เขาจึงเป็นผู้สนับสนุนการศึกษาหลังจากที่เขาร่ำรวยขึ้น  ในเดือนมีนาคม .. 2521 Lee King ได้เสียชีวิต เหลือเพียงภรรยาของเขา และลูกชาย 4 คน (สามคน มี Tai-kuen , Tai-ching และ Tai-yu ได้ทำงานให้กับ Din Wai ในเวลานั้น และ Tai-Wing ลูกคนเล็ก ยังเรียนอยู่ที่สหราชอาณาจักรแต่ลูกสาวของ Cheung King-wai ภรรยาม่ายของเขาเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้อำนวยการของบริษัท และในเวลาว่างเธอยังทำงานด้านการกุศล โดยบริจาคให้กับคลินิก Christian Family Service Lee Cheung King Wai และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวัดพุทธ Miu Fat

 

 ในปี 1989 บริษัทได้สร้างอาคารอุตสาหกรรม Din Wai สูง 6 ชั้น 93,600 ตารางฟุต เลขที่ 13 บน ถนน Chuen Street ใน Fanling

 

 เมื่อเวลาผ่านไป โรงงาน Din Wai ถูกปิดตัวลง และในปี 2546 อาคารอุตสาหกรรม Din Wai ถูกขายในราคา 30 ล้านเหรียญฮ่องกง และตั้งแต่นั้นมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น KTA Centre

 

บริษัท Din Wai ได้เลิกกิจการในปี 2553

 

TAT

 

Wing TAT Electric Manufacturing 

ก่อตั้งขึ้นในปี 2503 เป็นผู้ผลิตพัดลมไฟฟ้ารายใหญ่ซึ่งมีแบรนด์พัดลม TAT จำหน่ายทั่วโลก

 

 ผู้ก่อตั้ง ชื่อ Kan Man-wai ยังเป็นผู้ก่อตั้ง Hop Fat Electric ผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าในฮ่องกงที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2490 และดำเนินการที่ 125-127 Des Voeux Road  ในเซ็นทรัล.  Hop Fat เป็นหนึ่งในผู้จัดจำหน่ายรายแรกๆ ของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น Toshiba และ Matsushita (National) และกรรมการของบริษัท ได้แก่ Li Yim-wah และ Chan Ching-to ผู้ก่อตั้ง Wah Mei Electric (หนึ่งในผู้ค้าปลีกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เก่าแก่ที่สุดในจีนซึ่งเป็นนักปฏิวัติชาวจีนและผู้นำชุมชนชาวพุทธในฮ่องกงด้วย

 

 เริ่มต้นจากโรงงานขนาดเล็กที่ Catchick Street ใน Kennedy Town พัดลมและ Adapter ของ Wing Tat ได้รับการจำหน่ายในท้องถิ่นเป็นหลักผ่าน Hop Fat และ Wah Mei ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้บริหาร และ Chung Yuen Electrical ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นบุกเบิกอีกรายที่ยังคงดำเนินการจนถึงปัจจุบัน

 

Wing Tat เติบโตอย่างก้าวกระโดดภายในเวลาไม่ถึงทศวรรษของการก่อตั้ง  ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 พัดลมไฟฟ้ายี่ห้อ TAT ของบริษัทได้รับการติดตั้งในอาคารของรัฐและโรงเรียน และยังส่งออกไปยังตลาดต่างๆ กว่า 52 แห่งทั่วโลก ซึ่งไปไกลถึงทั่วทุกมุมโลก

 

 ในปี 1965 บริษัทได้สร้างอาคารโรงงานสูง 8 ชั้นของตัวเองที่ Sheung Hei Street ใน San Po Kong  โดยมีกำลังผลิตพัดลม 5,000 ตัวต่อเดือนและเติบโตในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในปี .. 2516 จำนวนพัดลมทั้งหมดที่ผลิตโดย Wing Tat มีมากกว่าหนึ่งล้านเครื่อง

 

 ในปี 1976 Wing Tat ได้ก่อตั้ง Fan Tat Manufacturing  ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ Al-Hakbany Group ของซาอุดีอาระเบีย (ซึ่งทำงานร่วมกับ KDK ของญี่ปุ่นและ Breidert ของสหรัฐอเมริกาด้วยเพื่อผลิตพัดลมสำหรับตลาดตะวันออกกลางภายใต้ แบรนด์ TAT และแบรนด์ KANDO โดย Wing Tat ถือหุ้น 51%, Hakbany ถือหุ้น 40% และบุคคลทั่วไปถือหุ้นในส่วนที่เหลือ

 

ในปี 1981 Fan Tat กลายเป็นหนึ่งในผู้เช่ารายแรกของนิคมอุตสาหกรรม Tai Po ด้วยเงินลงทุน 50 ล้านเหรียญฮ่องกง และจ้างคนงาน 300 คนเพื่อผลิตพัดลม 2,000-5,000 ตัวต่อวัน

 

 ในช่วงต้นทศวรรษ '80 Wing Tat ได้ดำเนินงานที่ Yau Tong โดยมีพื้นที่การผลิต 150,000 ตารางฟุต และอุปกรณ์ที่ทันสมัยของอเมริกาและญี่ปุ่น  นอกจากนี้ยังเป็นการผลิตให้กับ Moss Manufacturing บริษัทอเมริกันที่ก่อตั้งในปี1977 โดย David Moss  ในฟลอริดา ซึ่งเติบโตจนกลายเป็นบริษัทพัดลมเพดานที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 1982 โดยมียอดขายต่อปีกว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐจากการนำเข้าพัดลมราคาประหยัด  จากเอเชียไปยังสหรัฐอเมริกาและขายผ่านความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ Home Depot เครือข่ายการปรับปรุงบ้านที่พุ่งพรวด  (บริษัทGolden Fan Electrical ซึ่งเป็นบริษัทในฮ่องกงที่ก่อตั้งในช่วงต้นทศวรรษ '80 โดยผลประโยชน์ของจีนแผ่นดินใหญ่ก็เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของ Moss เช่นกัน)

 

 อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางทศวรรษที่ '80 ครัวเรือนในสหรัฐฯ ร้อยละ 50 มีพัดลมเพดานในบ้าน และตลาดเริ่มอิ่มตัวด้วยการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงระหว่างคู่แข่งในฮ่องกงและไต้หวัน

 

 ในปี 2548 Kan Man-wai ซึ่งดำรงตำแหน่งประธาน HK & Kowloon Electric Trade Association ในทศวรรษ '60 เสียชีวิต

 

หลังจากนั้น Frederick Kan Shiu-cheong (ลูกชายของเขาได้บริหารงาน Wing Tat ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและดำรงตำแหน่งประธานของ Climax International ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2551

 

 
Puthakhun [email protected] [1.46.18.xxx] เมื่อ 30/11/2022 19:24
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :